อุทยาน ประวัติศาสตร์ สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของ จ.สุโขทัยนอกเหนือจากการเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่นี่ยังมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์เป็นโบราณสถานสำคัญของไทยและยังได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อเมือง อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารตั้งแต่ปี 2534ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลักำแพงเพชรอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ใน อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย มีโบราณสถานทั้งในและนอกกำแพงเมืองรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 200 แห่ง ซึ่งหากว่าจะเดินชมให้ครบทุกแห่งในทริปเดียวก็อาจจะเป็นเรื่องยากมาก เราเลยขอรวบรวม
วัดมหาธาตุ อุทยาน ประวัติศาสตร์ สุโขทัย
อุทยาน ประวัติศาสตร์ สุโขทัย วัดมหาธาตุ” เป็นวัดขนาดใหญ่ที่สำคัญที่สุดแห่ง(อดีต)อาณาจักรสุโขทัย มีเจดีย์อยู่มากมายรวมแล้วกว่า 200 องค์ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยมีอะไรบ้าง โดยมีเจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรง“ดอกบัวตูม” หรือ “ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์” ที่คงความเป็นเอกลักษณ์และความคลาสสิกแห่งงานสถาปัตยกรรมสุโขทัยอย่างเด่นชัด สืบตกทอดมาจนถึงปัจจุบันองค์เจดีย์ประธานวัดมหาธาตุสันนิษฐานว่าเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยชั้นล่างสุดมีพระพุทธสาวกเดินพนมมือประทักษิณ ส่วนบนฐานเดียวกันยังมีปรางค์ 4 องค์ประจำอยู่บริเวณมุมทั้ง 4 ทิศ และบริเวณมุมทั้ง 4 ทิศยังมีเจดีย์ทรงปราสาทแบบศรีวิชัยผสมลังกา 4 องค์นอกจากนี้ที่วัดมหาธาตุยังมี “เจดีย์ 5 ยอด” เป็นเจดีย์รองประธานของวัด ซึ่งสันนิษฐานว่าภายในเจดีย์บรรจุอัฐิของพระมหาธรรมราชาลิไท และมี “วิหารพระศรีศากยมุนี” หรือ “วิหารหลวง” เป็นอีกหนึ่งจุดเด่น ในวิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยที่มีพระวรกายอวบอิ่ม พระพักตร์อมยิ้ม ดูอิ่มบุญเปี่ยมศรัทธาในช่วงยามเย็นวัดมหาธาตุ นับเป็นอีกหนึ่งจุดชมพระอาทิตย์ตกแสนสวยแห่งดินแดนมรดกโลกสุโขทัย ซึ่งแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวมาเฝ้ารอถ่ายรูปพระอาทิตย์ตกที่วัดมหาธาตุกันเป็นจำนวนมาก
วัดตระพังทอง
เริ่มต้นยามเช้าที่เมืองเก่าสุโขทัยด้วยกิจกรรมตักบาตรยามเช้า ใส่บาตรสะพานบุญ รับอรุณสุโขทัย ที่ “วัดตระพังทอง” โดยจะมีการตักบาตรทุกวัน เวลาประมาณ 06.20 น. บริเวณสะพานบุญ วัดตระพังทอง ตั้งอยู่ทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยตักบาตรยามเช้าแล้วก้เดินเข้ามาชมภายในวัดกันต่อ วัดตระพังทอง เป็นวัดบนเกาะกลางน้ำ ซึ่งคำว่าตระพัง มีรากศัพท์มาจากภาษาเขมรว่า ตรฺพำง (อ่านว่า ตรอ-เปียง) แปลว่า บ่อหรือสระน้ำที่ขุดขึ้น และคติการสร้างวัดบนเกาะกลางน้ำ เชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากการเผยแผ่พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งแพร่หลายในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีภายในวัดมี “เจดีย์ประธาน” เป็นเจดีย์ทรงลังกา หรือทรงระฆัง มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่าเจดีย์ทรงระฆังสมัยสุโขทัย ด้านหลังของเจดีย์ประธาน มี พระอุโบสถ” ที่สร้างขึ้นใหม่บนฐานพระอุโบสถหลังเก่าสมัยสุโขทัย ภายในประดิษฐาน หลวงพ่อขาว” เป็นพระประธาน นอกจากนี้ ยังมีมณฑปจัตุรมุข ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทเบื้องขวา” ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระมหาธรรมราชาลิไท กรุงสุโขทัย
วัดศรีสวาย
เชื่อว่าแต่เดิมเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อนแล้วแปลงเป็นพุทธสถาน โดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้าเป็นวัดในพุทธศาสนาในภายหลัง โดดเด่นไปด้วยพระปรางค์ 3 องค์เรียงกัน ศิลปะแบบลพบุรี บนยอดขององค์ปรางค์มีลวดลายปูนปั้นบางส่วนที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์สวยงามอีกทั้งยังมีการค้นพบทับหลังสลักรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูปและศิวลึงค์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวัดนี้เคยเป็นเทวสถานของพราหมณ์มาก่อนแล้วจึงแปลงเป็นพุทธสถาน
วัดสระศรี
ตั้งอยู่บนเกาะกลางสระน้ำขนาดใหญ่ชื่อตระพังตระกวน ภายในวัดมีเจดีย์รายขนาดเล็ก และเจดีย์ประธานองค์ใหญ่ทรงลังกาเป็นจุดเด่นสำคัญ ด้านหน้าวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปางมารวิชัย จากฝั่งไปบนเกาะมีสะพานเล็กๆสร้างทอดเชื่อมดูมีเสน่ห์สวยงามวัดสระศรีได้ชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งจุดชมพระอาทิตย์ตกที่งดงาม โดยเฉพาะในมุมมองผ่านสระน้ำสะท้อนเงาองค์เจดีย์ที่มีนักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปกันเป็นจำนวนมาก
พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช”สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์ในสมัยสุโขทัยผู้มีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่และทรงมีพระปรีชาสามารถนานัปการ อาทิ การประดิษฐ์อักษรไทย การปกครองแบบพ่อปกครองลูก บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข และอุดมสมบูรณ์มีลักษณะพระพักตร์และทรวดทรงของพระบรมรูป ที่ทางกรมศิลป์ได้จินตนาการตามลักษณะของสุภาพชนและเจ้านายสมัยสุโขทัย อีกทั้งลักษณะของพระพักตร์ยังเป็นการจำลองแบบตามพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยอีกด้วย
วัดศรีชุม
วัดศรีชุมตั้งอยู่ด้านนอกกำแพงเมือง เป็นที่ประดิษฐาน พระอจนะ อจนะหมายถึงผู้ไม่หวั่นไหว หรือการบูชานับถือ พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยปางมารวิชัยสูง 15 เมตร กับพุทธลักษณะอันงดงามสมส่วน จัดเป็นหนึ่งในงานพุทธศิลป์ชิ้นเอกและเป็นพระพุทธรูปสุโขทัยโบราณองค์ใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบันพระอจนะ ได้ชื่อว่า พระพุทธรูปพูดได้เพราะในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้มาชุมนุมทัพที่วัดศรีชุม พระองค์ทรงวางแผนสร้างกำลังใจให้กับทัพทหารโดยการให้คนปีนบันไดขึ้นไปทางด้านหลังองค์พระเพื่อและพูดให้กำลังใจแก่เหล่าทหาร ทำให้เกิดตำนานพระพุทธรูปพูดได้ขึ้นที่วัดแห่งนี้ นับเป็นภูมิปัญญาคนโบราณที่น่าทึ่งเป็นอย่างยิ่ง
วัดพระพายหลวง
วัดพระพายหลวง ตั้งอยู่นอกกำแพงเมือง ใกล้กับวัดศรีชุม ผังบริเวณวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำล้อมรอบ 3 ชั้น คูชั้นนอกเรียก “คูแม่โจน” วัดพระพายหลวงนี้เป็นศูนย์กลางของชุมชนในระยะแรกก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งโดดเด่นด้วยองค์ปรางค์ศิลาแลง 3 องค์ เป็นศิลปะในยุคเดียวกับศิลปะเขมรแบบบายน สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ส่วนด้านหน้าของวัดเป็นอาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น 4 อิริยาบถ คือนั่ง นอน ยืน เดิน