เหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา

หัวข้อ

เหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา

เหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา กรุงศรีอยุธยาก่อกำเนิดขึ้นเป็นราชธานีในปี พ.ศ.1893 แต่มีข้อถกเถียงกันมาก ว่าการถือกำเนิดของกรุงศรีอยุธยานั้นมิได้เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนเสียทีเดียว มีหลักฐานว่าก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างเมืองขึ้นที่ตำบลหนองโสนบริเวณนี้เคยมีผู้คนอาศัยมาก่อนแล้ว วัดสำคัญอย่างวัดมเหยงค์ วัดอโยธยา และวัดใหญ่ชัยมงคล เหตุการณ์ สมัยอยุธยาตอนปลาย ล้วนเป็นวัดเก่าที่มีมาก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยาทั้งสิ้น โดยเฉพาะที่วัดพนัญเชิง วัดที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่แบบอู่ทอง พงศาวดารเก่าระบุว่า สร้างขึ้นก่อนการสร้างพระนครศรีอยุธยาถึง 26 ปี วัดเหล่านี้ ตั้งอยู่ตามแนวฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก นอกเกาะเมืองอยุธยาที่มีการขุดพบคูเมืองเก่าด้วย ทำให้เชื่อกันว่าบริเวณนี้น่าจะเป็นเมืองเก่าที่มีชื่ออยู่ในศิลาจารึกกรุงสุโขทัยว่า อโยธยาศรีรามเทพนคร

 

เหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา อโยธยาศรีรามเทพนคร 

 

เหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา ปรากฏชื่อเป็นเมืองแฝดละโว้อโยธยามาตั้งแต่ช่วงราวปี พ.ศ.1700 เป็นต้นมา ครั้นก่อนปี พ.ศ.1900 พระเจ้าอู่ทองซึ่งครองเมืองอโยธยาอยู่ก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของกษัตริย์ทางฝ่ายสุพรรณภูมิ ซึ่งครองความเป็นใหญ่อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา อโยธยาและสุพรรณภูมิจึงรวมตัวกันขึ้น โดยอาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติ ครั้นเมื่อเกิดโรคระบาด พระเจ้าอู่ทองจึงอพยพผู้คนจากเมืองอโยธยาเดิม ข้ามแม่น้ำป่าสักมาตั้งเมืองใหม่ที่ตำบลหนองโสน หรือที่รู้จัก กันว่าบึงพระรามในปัจจุบัน

กรุงศรีอยุธยาจึงก่อเกิดเป็นราชธานีขึ้นใน ปี พ.ศ.1893 พระเจ้าอู่ทองเสด็จฯ เสวยราชย์เป็นสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของพระองค์นับได้ว่าเป็นยุคของการก่อร่างสร้างเมือง และวางรูปแบบการปกครองขึ้นมาใหม่ ทรงแบ่งการบริหารราชการออก เป็น 4 กรม ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง และ นา หรือที่เรียกกันว่า จตุสดมภ์ ระบบที่ทรงวางไว้แต่แรกเริ่มนี้ ปรากฏว่าได้สืบทอดใช้กันมา ตลอด 400 กว่าปีของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ครองราชย์อยู่ได้เพียง 19 ปี ก็เสด็จสวรรคต เหตุการณ์ในสมัยอยุธยาตอนต้น หลังจากรัชสมัยของพระองค์

ผู้ได้สร้างราชธานีแห่งนี้ขึ้นจากความสัมพันธ์ของสองแว่นแคว้น กรุงศรีอยุธยาได้กลายเป็นเวทีแห่งการแก่งแย่งชิงอำนาจระหว่างสองราชวงศ์คือละโว้-อโยธยา และราชวงศ์สุพรรณภูมิ สมเด็จพระราเมศวรโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาได้ไม่ทันไร ขุนหลวงพะงั่วจากราชวงศ์สุพรรณภูมิ ผู้มีศักดิ์เป็นอาก็แย่งชิงอำนาจได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช เมื่อสิ้นรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราช สมเด็จพระราเมศวรก็กลับมาชิงราชสมบัติกลับคืน มีการแย่งชิงอำนาจผลัดกันขึ้นเป็นใหญ่ระหว่างสองราชวงศ์นี้อยู่ ถึง 40 ปี จนสมเด็จพระนครอินทร์ ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ทางสุพรรณภูมิและสัมพันธ์แน่นแฟ้นอยู่กับสุโขทัยแย่งชิงอำนาจกลับคืนมาได้สำเร็จ พระองค์สามารถรวมทั้งสองฝ่ายให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างแท้จริง

เหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ สมัยอยุธยา

ในช่วงของการแก่งแย่งอำนาจกันเอง

 

กรุงศรีอยุธยาก็พยายามแผ่อำนาจไปตีแดนเขมรอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ.1974 หลังสถาปนากรุงศรีอยุธยาได้แล้วราว 80 ปี สมเด็จเจ้าสามพระองค์ พระ โอรสของสมเด็จพระนครอินทร์ ก็ตีเขมรได้สำเร็จเขมรสูญเสียอำนาจ จนต้องย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนครไปอยู่เมืองละแวกและพนมเปญในที่สุด ผลของชัยชนะครั้งนี้ทำให้มีการกวาดต้อนเชลยศึกกลับมาจำนวนมาก และทำให้อิทธิพลของเขมรในอยุธยาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่ผู้ชนะมักรับเอาวัฒนธรรมของผู้แพ้มาใช้ กรุงศรีอยุธยาหลังสถาปนามาได้กว่าครึ่งศตวรรษก็เริ่มเป็นศูนย์กลางของราชอาณาจักรอย่างแท้จริง มีอาณาเขตอันกว้างขวางด้วยการผนวกเอาสุโขทัยและสุพรรณภูมิเข้าไว้ มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับจีนและวัดวาอารามต่างๆ ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่จนงดงาม

 

ยุครุ่งโรจน์ก่อนสงคราม 

 

หลังรัชกาลสมเด็จเจ้าสามพระยาแล้ว กรุงศรีอยุธยาก็เข้าสู่ยุคสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางมีการติดต่อค้าขายกับบ้านเมืองภายนอกรวมทั้งมีการปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองขึ้น พระองค์ทรงยกเลิกการปกครองที่กระจายอำนาจให้เมืองลูกหลวงปกครองอย่างเป็นอิสระมาเป็นการรวบอำนาจไว้ที่พระมหากษัตริย์ แล้วทรงแบ่งเมืองต่างๆ รอบนอกออกเป็นหัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก ซึ่งเมืองเหล่านี้ดูแลโดยขุนนางที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง นอกจากนี้ก็ยังได้ทรงสร้างระบบศักดินาขึ้น อันเป็นการให้กรรมสิทธิ์ถือที่นาได้มากน้อยตามยศ พระมหากษัตริย์มีสิทธิ์ที่จะเพิ่มหรือลดศักดินาแก่ใครก็ได้ และหากใครทำผิดก็ต้องถูกปรับไหมตามศักดินานั้นในเวลานั้นเอง

กรุงศรีอยุธยาที่เจริญมาได้ถึงร้อยปีก็กลายเป็นเมืองที่งดงามและมีระเบียบแบบแผน วัดต่างๆ ที่ได้ก่อสร้างขึ้นอย่างวิจิตรบรรจงเกิดขึ้นนับร้อย พระราชวังใหม่ได้ก่อสร้างขึ้นอย่างใหญ่โตกว้างขวาง ส่วนที่เป็นพระราชวังไม้เดิมได้กลายเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์วัดคู่เมืองที่สำคัญกรุงศรีอยุธยากำลังจะเติบโตเป็นนครแห่งพ่อค้าวาณิชอันรุ่งเรือง เพราะเส้นทางคมนาคมอันสะดวกที่เรือสินค้าน้อยใหญ่จะเข้ามาจอดเทียบท่าได้แต่พร้อมๆ กับความรุ่งเรืองและความเปลี่ยนแปลงสงครามก็เกิดขึ้น ช่วงเวลานั้นล้านนาที่มีพระมหากษัตริย์คือราชวงศ์เม็งราย ครองสืบต่อกันมา กำลังเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญของกรุงศรีอยุธยา

 

บทความที่เกี่ยวข้อง