เหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ สมัยสุโขทัย ความเป็นมาและเหตุการณ์สำคัญในสมัยสุโขทัย จากการศึกษาร่องรอยทางโบราณและโบราณวัตถุ ศิลาจารึกและตำนานพงศาวดารท้องถิ่นหลายฉบับทำให้เข้าใจว่า ระยะก่อนปี พ.ศ. 1761 นั้นปรากฏว่าอำนาจของอาณาจักรเขมรรุ่งเรืองมากในดินแดนสุวรรณภูมิโดยเฉพาะตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ. 1600 เป็นต้นมา จนถึงสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
อาณาจักรเขมรมีศูนย์กลางอำนาจทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) อาณาจักเขมรมีการปกครองแบบประชาธิปไตยกษัตริย์จะส่งขุนนางมาปกครองเมืองบริวารโดยเมืองบริวารจะต้องส่งส่วยเป็นเครื่องราชบรรณาการให้แก่นครหลวง ขณะเดียวกับบางท้องถิ่นอาจเป็นอิสระมีอำนาจปกครองตนเอง กลุ่มชนมีขนาดไม่ใหญ่โตผู้ปกครองเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องจากกลุ่มชนให้เป็นผู้ปกครองไม่มีความซับซ้อนในการปกคอรงเพราะประชาชนยังมีน้อยบริเวณที่มีความสำคัญในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง คือ
- 1. บริเวณเมืองศรีเทพ ลุ่มแม่น้ำป่าสัก ซึ่งมีซากโบราณสถานเป็นปรางค์ที่สร่างด้วยศิลาแลงและอิฐ
- รวมทั้งเทวรูปศิลาหลายองค์ ที่เห็นได้ชัดว่าเป็นศิลปกรรมแบบเขมร
- 2. บริเวณเมืองสองแคว(พิษณุโลก) ซึ่งปรากฏมีโบราณสถานเป็นศิลปกรรมแบบเขมร ได้แก่ พระปรางค์วัดจุฬามณีซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลง
- 3. บริเวณเมืองสุโขทัย และเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งมีโบราณสถานที่เป็นศิลปกรรมแบบเขมร คือ พระปรางค์วัดเจ้าจันทร์ พระปรางค์ 3 องค์วัดพระพายหลวง ศาลตาผาแดง และฐานพระปรางค์วัดศรีสวาย เมืองเก่าสุโขทัย เป็นต้น
เหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ สมัยสุโขทัย สุโขทัยในฐานะที่เป็นแคว้นทางการปกครอง
เหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์ สมัยสุโขทัย อย่างเป็นเอกเทศได้ปรากฏรูปร่างขึ้นมาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 18 เมื่อวีรบุรุษไทย 2 คน คือพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดและพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยาง สหายทั้ง 2 ท่านได้ร่วมมือกันยึดเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัยคือมาจากข้าศึกที่ชื่อว่า “ขอมสบาดโขลญลำพง” เมืองสุโขทัยเดิม พญาศรีนาวนำถมเป็นเจ้าเมืองครองอยู่ แต่ครั้งเมื่อพญาศรีนาวนำถมถึงแก่กรรมลง ได้เกิดเรื่องยุ่งยากขึ้น โดยต้องตกอยู่ในอำนาจปกครองของขอมสบาดโขลญลำพง ดังนั้น พ่อขุนผาเมืองผู้เป็นโอรส
จึงได้ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาวยึดอำนาจคือสำหรับพ่อขุนผมเองนั้นนอกจากเป็นโอรสของเจ้าเมืองสุโขทัยเก่าและเป็นเจ้าเมืองราดแล้วยังดำรงฐานะเป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์เขมร และได้รับมอบนามเกียรติยศคือ เหตุการณ์สมัยก่อน สุโขทัย “ศรีอินทราบดินทราทิตย์” กับพระขรรค์ชัยศรีจากกษัตริย์เขมรด้วเมื่อทั้งสองยึดเมืองศรีสัชนาลัยกับสุโขทัยได้แล้วพ่อขุนผาเมืองจึงได้มอบเมืองสุโขทัยให้สหายตนครอบครองพร้อมทั้งนามเกียรติยศตนให้แก่สหาย ส่วนตัวเองกลับไปครองเมืองราดเช่นเดิมด้วยเหตุนี้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงได้เป็นที่รู้จักกันภัยหลังในนามว่า “ศรีอินทราบดินทราทิตย์” หรือ “ศรีอินทราทิตย์” พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครอบคอรงสุโขทัยเป็นศุนย์กลางมีอำนาจอยู่แถบบริเวณลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำปิงตอนล่างทรงมีโอรสที่ปรากฏนามอยู่สองพระองค์ คือ พ่อขุนบานเมืองผู้พี่และพ่อขุนรามราชผู้น้อย
พ่อขุนบานเมืองผู้พี่และพ่อขุนรามราชผู้น้อย
ในขณะนั้นบ้านเมืองยังอยู่ในความไม่สงบยังมีผู้นำของกลุ่มชนอิสระอยู่อีกหลายกลุ่มที่คิดจะตั้งตัวเป็นใหญ่ ดังนั้นในการรวบรวมกลุ่มชนต่าง ๆ เหล่านั้นเข้าด้วยกันจึงต้องมีการทำสงครามต่อสู้กันดังเช่นครั้งหนึ่งเมื่อพ่อขุนรามราช อายุได้ 19 ปี ประมาณปี พ.ศ. 1800ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดตีเมืองตากซึ่งเป็นเมืองอยู่ในอาณาเขตปกครองของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ครั้งนั้นพ่อขุนรามราชได้ช่วยพระราชบิดาออกสู้รบด้วยและสามารถชนช้างชนะขุนสามชนได้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงหนามพ่อขุนราชราชว่า “พระรามคำแหง” 10 เหตุการณ์สำคัญ สมัย สุโขทัย เมื่อขุนศรีอินทราทิตย์สิ้นพระชนม์พ่อขุนบานเมือง ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมา แต่อยู่ในช่วงระยะสั้น ๆ ไม่ปรากฏเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เมื่อพ่อขุนบานเมืองสิ้นประชนม์ ในปี พ.ศ.1822 พ่อขุนรามคำแหงจึงได้ครองราชย์ต่อมาและได้ทรงเป็นมหาราชพระองค์แรงของชนชาติไทย ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชถือได้ว่าเป็นยุคทองของสุโขทัยอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรือกว่าในรัชกาลใด ๆ ในราชวงศ์พระร่วงราชอาณาจักรแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง
ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
บ้านเมืองอยู่อย่างสงบมีความร่วมเย็นเป็นสุขดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” การพาณิชย์เจริญก้าวหน้าพระองค์ได้ทรงวางระเบียบปกครองบ้านเมือง ทั้งยังประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1826กับทั้งทรงดูแลการเพิ่มผลผลิตของประชากร เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของอาณาจักรพระราชโอรสพระองค์หนึ่งของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือ พญาเลอไทซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัยในขณะที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชครองราชสมบัติอยู่เมือพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคตในราว พ.ศ. 1842
เมืองต่างที่เคยอยู่ในอำนาจของอาณาจักรสุโขทัยได้แตกแยกกันออกเป็นอิสระทำให้เสถียรภาพของอาณาจักรสุโขทัยอยู่ในฐานะที่คับขันกษัตริย์ที่ครองราชสมบัติสืบต่อจากพ่อขุนรามคำแหง คือ พญาไสสงคราม การที่เมืองต่างๆ พยายามแยกตัวออกเป็นอิสระ รวมทั้งเมืองที่อยู่ใกล้กับเมืองหลวงพยายามแยกตัวออกไปแสดงให้เห็นว่าถ้าไม่เกิดความยุ่งยากในราชวงศ์ก็ขึ้นอยู่กับการปกครองเป็นสำคัญเพราะการปกครองในสมัยนั้นเป็นแบบนครรัฐคือแต่ละเมืองก็มีผู้ปกครองนครเป็นอิสระเข้ามารวมกันได้ก็เพราะศรัทธาในกษัตริย์องค์เดียวกันเท่านั้น
หลังจากรัชกาลของพญาไสสงครามแล้วพญาเลอไทได้ครองราชสมบัติต่อมาราว พ.ศ. 1866 ซึ่งน่าจะต้องดำเนินนโยบายในการพยายามรวบรวมอาณาจักรเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง ตลอดระยะเวลา18 ปี ที่พระองค์ครองราชสมบัติอยู่นั้นไม่มีรายละเอียดปรากฏอยู่มากนักพระองค์สวรรคตราวปี พ.ศ. 1884 ต่อจากรัชกาลพญาเลอไทยมีกษัตริย์ที่ออกพระนามในศิลาจารึกอีกพระองค์หนึ่ง คือ พญางัวนำถม