ประวัติศาสตร์ พระนเรศวร สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 เป็นกษัตริย์องค์ที่ 18 แห่งอาณาจักรอยุธยา และองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์สุโขทัย พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ. 2133 หลังจากที่พระราชบิดาคือสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเสด็จสวรรคต และเป็นเจ้าแห่งล้านนาตั้งแต่ พ.ศ. 2145 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2148 สมเด็จพระนเรศวรเป็นพระมหากษัตริย์ไทยที่เป็นที่เคารพนับถือมากที่สุดพระองค์หนึ่ง ประวัติและผลงานของพระนเรศวรมหาราช เนื่องจากพระองค์เป็นที่รู้จักในการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยกรุงศรีอยุธยาจากการเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรตองอูในปี พ.ศ. 2127 ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทำสงครามกับพม่าตองอูหลายครั้ง สมเด็จพระนเรศวรยังเจริญสัมพันธไมตรีกับฮอลันดาใน พ.ศ. 2142
ขณะทรงพระเยาว์ ประวัติศาสตร์ พระนเรศวร
ประวัติศาสตร์ พระนเรศวร สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ พระองค์ดำ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชและพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระสุริโยทัย เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก พระองค์มีพระเชษฐภคินีคือพระสุพรรณกัลยา และพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว):67 ขณะที่ทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงใช้ชีวิตอยู่ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่งพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลกในสงครามช้างเผือก พระนเรศวร ผลงานสําคัญ สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เจ้าเมืองพิษณุโลก ยอมอ่อนน้อมต่อหงสาวดี จึงทำให้พระเจ้าบุเรงนองได้เมืองพิษณุโลกกับอยุธยา และทำให้สยามตกเป็นประเทศราชของพม่า เพื่อยืนยันความจงรักภักดีของกษัตริย์:36,67 พระเจ้าบุเรงนองทรงขอพระสุพรรณกัลยาและพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดีใน พ.ศ. 2107 ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา ประทับอยู่กรุงหงสาวดี 8 ปี และเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ 17 พรรษา พ.ศ. 2115
ปกครองเมืองพิษณุโลก
หลังจากพระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2112 มะเส็งศก วันอาทิตย์ เดือน 9 แรม 11 ค่ำ และได้สถาปนาสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองกรุงศรีอยุธยาในฐานะประเทศราชของหงสาวดีแล้ว พระองค์ได้หนีกลับมายังกรุงศรีอยุธยาโดยที่พระเจ้าบุเรงนองทรงยินยอมอันเนื่องมาจากพระสุพรรณกัลยาทรงขอไว้ เมื่อเสด็จกลับมาถึงกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2115 สมเด็จพระมหาธรรมราชาพระราชทานนามให้พระองค์ว่า “พระนเรศวร” และโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระมหาอุปราช พระชนมายุ 17 พรรษา ไปปกครองเมืองพิษณุโลก พระองค์ทรงปกครองเมืองอย่างดีและทรงเริ่มเตรียมการที่จะกอบกู้เอกราชของกรุงศรีอยุธยาการที่ได้เสด็จไปประทับอยู่หงสาวดีถึง 8 ปีนั้น ก็เป็นประโยชน์ยิ่งเพราะทรงทราบทั้งภาษา นิสัยใจคอ ตลอดจนล่วงรู้ความสามารถของพม่า ซึ่งนับเป็นทุนสำหรับคิดอ่านเพื่อหาหนทางในการต่อสู้กับพม่า เมื่อหงสาวดีตีกรุงศรีอยุธยาได้นั้น อ้างว่าข้าราชการในกรุงศรีอยุธยาเกลียดชังสมเด็จพระมหาธรรมราชา จึงต้องถอนข้าราชการเมืองเหนือที่เคยใช้สอยลงมารับราชการในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก ทำให้จำนวนข้าราชการทางเมืองเหนือบกพร่องจึงต้องหาตัวตั้งขึ้นใหม่ พระองค์ทรงขวนขวายหาคนสำหรับทรงใช้สอยโดยฝึกทหารที่อยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกันตามวิธียุทธ์ของพระองค์ทั้งสิ้นและนับเป็นกำลังสำคัญของพระนเรศวรในเวลาต่อมา
การตีกรุงศรีอยุธยาของเขมร
เมื่อปี พ.ศ. 2113 พระยาละแวกหรือสมเด็จพระบรมราชา กษัตริย์เขมร ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยามาก่อนตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เห็นกรุงศรีอยุธยาบอบซ้ำจากการทำสงครามกับพม่าจึงถือโอกาสยกกองทัพเข้ามาซ้ำเติมโดยมีกำลังพล 20,000 นาย เข้ามาทางเมืองนครนายก เมื่อมาถึงกรุงศรีอยุธยาได้ตั้งทัพอยู่ที่ตำบลบ้านกระทุ่มแล้วเคลื่อนพลเข้าประชิดพระนครและได้เข้ามายืนช้างบัญชาการรบอยู่ในวัดสามพิหาร รวมทั้งวางกำลังพลรายเรียงเข้ามาถึงวัดโรงฆ้องต่อไปถึงวัดกุฎีทอง และนำกำลังพล 5,000 นาย ช้าง 30 เชือก เข้ายึดแนวหน้าวัดพระเมรุราชิการามพร้อมกับให้ทหารลงเรือ 50 ลำแล่นเข้ามาปล้นพระนครตรงมุมเจ้าสนุก ในครั้งนั้นสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเสด็จออกบัญชาการการรบป้องกันพระนครเป็นสามารถ กองทัพเขมรพยายามยกพลเข้าปล้นพระนครอยู่ 3 วัน แต่ไม่สำเร็จจึงยกกองทัพกลับไปและได้กวาดต้อนผู้คนชาวบ้านนาและนครนายกไปยังประเทศเขมรเป็นจำนวนมาก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2117 ในขณะที่กองทัพกรุงศรีอยุธยาภายใต้การบังคับบัญชาของสมเด็จพระธรรมราชาธิราชและพระนเรศวรได้ยกกองทัพไปช่วยหงสาวดีเพื่อตีเมืองศรีสัตนาคนหุต พระยาละแวกได้ถือโอกาสยกกองทัพมาทางเรือเข้าตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง แต่การศึกครั้งนี้โชคดีเป็นของกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือขณะที่กองทัพกรุงศรีอยุธยายกไปถึงหนองบัวลำภู เมืองอุดรธานี พระนเรศวรประชวรเป็นไข้ทรพิษ ดังนั้นพระเจ้าบุเรงนองจึงโปรดให้กองทัพกรุงศรีอยุธยายกทัพกลับไป โดยกองทัพกรุงศรีอยุธยากลับมาได้ทันเวลาที่กรุงศรีอยุธยาถูกโจมตีจากกองทัพเรือเขมร ซึ่งขึ้นมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อเดือนอ้าย พ.ศ. 2118 โดยได้ตั้งทัพชุมนุมพลอยู่ที่ตำบลขนอนบางตะนาวและลอบแฝงเข้ามาอยู่ในวัดพนัญเชิง รวมทั้งใช้เรือ 3 ลำเข้าปล้นชาวเมืองที่ตำบลนายก่าย ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาได้ใช้ปืนใหญ่ยิงไปยังป้อมค่ายนายก่ายถูกข้าศึกล้มตายเป็นอันมาก แล้วให้ทหารเรือเอาเรือไปท้าทายให้ข้าศึกออกมารบพุ่ง จากนั้นก็หลอกล่อให้ข้าศึกรุกไล่เข้ามาในพื้นที่การยิงหวังผลของปืนใหญ่ เมื่อพร้อมแล้วก็ระดมยิงปืนใหญ่ถูกทหารเขมรแตกพ่ายกลับไป